หน่วยบริหารนวัตกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Research Innovation Management Unit SDU

 ระบบตรวจวัดแรงดันน้ำที่มีผลต่อคันกันน้ำ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

จากสภาวะน้ำท่วมใหญ่ในแถบราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงท้ายปี 2554 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วม 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี อุทัยธานี และอ่างทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ทั้งสิ้น 9,859 โรงงาน ซึ่งผลจากภาวะน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ดังกล่าวส่งผลความเสียหายในด้านเศรษฐกิจรวมมูลค่า 474,750 ล้านบาท โดยมีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้รับผลกระทบ 7 แห่ง รวมทั้งสิ้น 838 โรงงาน มูลค่าความเสียหาย 237,410 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะพบว่าเกิดจากความบกพร่องของคันกั้นน้ำท่วมที่ทำมาจากดินเหนียวและกระสอบทราย ยกตัวอย่าง นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้คันกั้นดินเหนียวและเพิ่มเติมความสูงตามระดับน้ำ  ที่ล้อมรอบนิคมอุตสาหกรรม หากแต่คันกั้นดินเหนียวที่เสริมขึ้นมานี้เองเป็นจุดอ่อนเนื่องจากดินเหนียวที่เสริมยังไม่มีความแข็งแรงเพียงพอในการรับแรงดันน้ำที่กระทำกับคันกั้นน้ำดังกล่าว

 บทสรุปเทคโนโลยี

ระบบตรวจวัดแรงดันน้ำที่มีผลต่อคันกั้นน้ำ ช่วยลดปัญหาคันกั้นน้ำที่รับแรงดันน้ำไม่ได้ โดยระบบแจ้งเตือนถึงแรงดันน้ำที่กระทำกับคันกั้นน้ำว่าเวลานี้มีแรงดันน้ำที่ใกล้เกินขีดความสามารถที่แนวคันกั้นน้ำรับได้ซึ่งเป็นค่าความดันที่ตั้งไว้ โดยแสดงสัญญาณว่าตำแหน่งใดในแนวคันกั้นน้ำที่มีแรงดันน้ำเกิน ซึ่งจะทำให้ผู้รับผิดชอบเข้าไปแก้ไขได้ทัน

จุดเด่นของเทคโนโลยี

ระบบตรวจวัดแรงดันน้ำที่มีผลต่อคันกั้นน้ำ จะลดปัญหาคันกั้นน้ำที่รับแรงดันน้ำไม่ได้ คันกั้นน้ำ คือ คันดิน คันหิน คันโคลน กระสอบทราย คอนกรีต หรือสิ่งของอื่นๆ ที่ใช้ทดแทนทำคันกั้นน้ำได้ จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่แจ้งเตือนถึงแรงดันน้ำที่กระทำกับคันกั้นน้ำว่าเวลานี้มีแรงดันน้ำที่เกินขีดความสามารถที่แนวคันกั้นน้ำรับได้ โดยแสดงสัญญาณว่าตำแหน่งใดในแนวคันกั้นน้ำที่มีแรงดันน้ำเกิน ซึ่งจะทำให้ผู้รับผิดชอบเข้าไปแก้ไขได้ทัน

สถานภาพเบื้องต้น

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

สนใจสอบถามข้อมูล

หน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 02-244-5285    

โทรสาร  : 02-244-5286

e-mail: raudusit@gmail.com

http://raudusit.ac.th

https://www.facebook.com/raudusit

Scroll to Top