หน่วยบริหารนวัตกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Research Innovation Management Unit SDU

 เครื่องสำอางป้องกันแสงแดด ที่มีส่วนประกอบสารสกัดกากรำข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

จังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นหลัก โดยเฉพาะ
อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งปลูกของข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ การผลิตข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ในปริมาณมาก ส่งผลให้ขบวนการสีข้าวมีวัสดุเหลือใช้จากการสีข้าวจำนวนมากคือรำข้าว ประกอบกับผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง และประเทศไทยยังคงมีความต้องการใช้เครื่องสำอางป้องกันแสงแดด
เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีการตื่นตัวในการปกป้องผิวจากแสงแดด ชั้นบรรยากาศของโลกถูกทำลายขึ้นทุกวัน ทำให้เครื่องสำอางป้องกันแสงแดดมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น การใช้สารเคมีในการปกป้องกันแสงแดดทั้งสารป้องกันแสงแดดชนิดฟิสิกส์และเคมี ในปริมาณที่มากและเป็นประจำจะก่อให้เกิดการอุดตันของผิวและการสะสมของสารเคมีบนผิว ทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ง่าย นอกจากนั้นการใช้สารป้องกันแสงแดดที่มีค่า SPF สูง จะทำให้การชำระล้างออกได้ยากเนื่องจากต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

 บทสรุปเทคโนโลยี

เครื่องสำอางป้องกันแสงแดดที่มีส่วนประกอบสารสกัดกากรำข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ มีส่วนผสมของ Aqua, 2NaEDTA, Zemea Propanediol, KEMKO N-PAMA, Eusolex OCR, Eusolex 9020, Tinosorb S, Silicone 35, Parsol MCX, Ercarel B125, Unimaben II, Defatted Rice Bran Extract เป็นการนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาใช้ทดแทนสารเคมีในเครื่องสำอางป้องกันแสงแดด

 จุดเด่นของเทคโนโลยี

จากสารสมบัติต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดกากรำข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ ได้มีการประยุกต์ใช้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดกากรำข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ในเครื่องสำอาง ที่ช่วยรักษาคุณภาพของสารป้องกันแสงแดดให้มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยลดปริมาณสารเคมีในเครื่องสำอางป้องกันแสงแดด อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้นำวัสดุเหลือใช้จากเกษตรอินทรีย์ และส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและยังเป็นการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์


สถานภาพเบื้องต้น

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

สนใจสอบถามข้อมูล

หน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 02-244-5285    

โทรสาร  : 02-244-5286

e-mail: raudusit@gmail.com

http://raudusit.ac.th

https://www.facebook.com/raudusit

Scroll to Top