หน่วยบริหารนวัตกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Research Innovation Management Unit SDU

 ไส้กรอกคั่วกลิ้งหมูพื้นเมือง

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ไส้กรอก (Sausage) มาจากคำภาษาละติน หมายถึง การเก็บรักษาเนื้อสัตว์โดยใช้เนื้อสัตว์บดละเอียดผสมกับเกลือและเครื่องเทศ บรรจุลงในไส้ ดังนั้น กรรมวิธีในการผลิตไส้กรอกนั้นจึงถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีการถนอมอาหารแบบหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกมีหลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ชนิดของเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส ชนิดของเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่
เนื้อวัว เนื้อปลา เป็นต้น กรรมวิธีการทำไส้กรอกมีดังนี้ บดเนื้อ ปรุงรส แล้วทำการ
มัดไส้ รมควันที่อุณภูมิ ต้มที่อุณหภูมิ ทำให้เย็นทันทีด้วยน้ำเย็น จากนั้นนำไปทอดหรือต้มตามความต้องการ

การนำอาหารไทยพื้นบ้านมาดัดแปลงเป็นไส้กรอกนั้นยังมีน้อย คั่วกลิ้งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคใต้ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องเทศ จำพวก ขมิ้น พริกแห้ง ตะไคร้ พริกไทยดำ ข่า กระเทียม หัวหอม ผิวมะกรูด เป็นส่วนประกอบ แต่ยังไม่มีการนำคั่วกลิ้งมาดัดแปลงทำเป็นไส้กรอกคั่วกลิ้ง อันจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ และได้
ไส้กรอกที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากยิ่งขึ้น เนื่องจากส่วนผสมนั้นประกอบด้วยเครื่องเทศ ซึ่งเป็นสมุนไพร จึงนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภค

 บทสรุปเทคโนโลยี

ไส้กรอกคั่วกลิ้งหมูพื้นเมือง ประกอบด้วย เนื้อหมูบด เกลือ น้ำตาล พริกชี้ฟ้าแดง ใบมะกรูด ไส้อ่อนและเครื่องแกง

 จุดเด่นของเทคโนโลยี

ไส้กรอกคั่วกลิ้งหมูพื้นเมือง โดยจัดทำสูตรไส้กรอกคั่วกลิ้งหมูพื้นเมืองหลากหลายสูตร โดยค้นหาสูตรที่ผู้บริโภคชอบมากที่สุด

สถานภาพเบื้องต้น

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

สนใจสอบถามข้อมูล

หน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 02-244-5285    

โทรสาร  : 02-244-5286

e-mail: raudusit@gmail.com

http://raudusit.ac.th

https://www.facebook.com/raudusit

Scroll to Top