หน่วยบริหารนวัตกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Research Innovation Management Unit SDU

 พายทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งฟักทองสอดไส้แอปเปิ้ล

 ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

แป้งเป็นอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ เนื่องจากแป้งเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานต่อร่างกายสูง วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่นำมาผลิตแป้ง ได้แก่ พืชประเภทหัว และธัญพืชต่างๆ ในบรรดาพืชที่ให้แป้งสูง นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีพืชบางชนิดที่สามารถนำมาทำเป็นแป้งได้ คือ ฟักทอง ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ โดยการแปรรูปฟักทองให้อยู่ในรูปแป้งมีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ทำได้ง่าย  ผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมรับประทานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ในช่วงระยะเวลาที่เร่งรีบ หรือไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่ต้องใช้เวลามาก รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์

เบเกอรี่มาใช้เป็นอาหารว่างเพื่อเลี้ยงรับรอง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีผู้นิยมรับประทานกัน ซึ่งเพสตรี้เป็น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่มีลักษณะของเปลือกกรอบ ร่วน บางชนิดมีลักษณะกรอบเป็นชั้น สีเหลืองทอง เพสตรี้ทำจาก แป้งสาลี ไขมัน และของเหลว มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของเปลือกพาย และส่วนของไส้พาย

 บทสรุปเทคโนโลยี

พายทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งฟักทองสอดไส้แอปเปิ้ล ที่ประกอบด้วย แป้งสาลีอเนกประสงค์ แป้งฟักทอง เนยสด น้ำตาลทราย ไข่ไก่  เกลือ  น้ำ แอปเปิ้ล 
เกล็ดขนมปัง ชินามอน และน้ำมะนาว

จุดเด่นของเทคโนโลยี

พายสูตรพายทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งฟักทองสอดไส้แอปเปิ้ล โดยใช้ฟักทองมาทดแทนแป้งสาลีบางส่วน แล้วพัฒนาให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น รวมถึงยังเป็นการเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้กับผลิตภัณฑ์ และส่งผลให้ค่าความสว่าง ความแน่นเนื้อ และปริมาณไขมันของเพสตรี้เพิ่มขึ้น

สถานภาพเบื้องต้น

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

สนใจสอบถามข้อมูล

หน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 02-244-5285    

โทรสาร  : 02-244-5286

e-mail: raudusit@gmail.com

http://raudusit.ac.th

https://www.facebook.com/raudusit

Scroll to Top